เมนู

2. อารัมมณปัจจัย


[1143] 1. ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ 1. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ด้วยจิตที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา แล้วพิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา. ออกจาก
ฌานที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา, ออกจากมรรค, ออกจากผลแล้ว, พิจารณา
ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา.
2. พระอริยบุคคลทั้งหลาย พิจารณากิเลสทั้งหลายที่ละแล้วที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา พิจารณากิเลสทั้งหลายที่
ท่านข่มแล้ว. รู้กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดแล้วในกาลก่อน, พิจารณาเห็นขันธ์ที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วย
จิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา, ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์
นั้น ราคะ ทิฏฐิ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ
3. เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ขันธ์ทั้ง-
หลายที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น.
[1144] 2. ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่
ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ 1. เมื่อบุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ด้วย
จิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาแล้ว โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีวิปปฏิสาร.
2. เมื่อฌานที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเสื่อมไป โทมนัสย่อมเกิด
ขึ้นแก่บุคคลผู้มีวิปปฏิสาร.
3. เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ขันธ์ทั้ง-
หลายที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น.